วันพุธที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

หินปูน (CaCO3) ที่ใช้ในงานก่อสร้าง



หินปูน (CaCO3)

ข้อมูลทั่วไป

หินปูนจัดอยู่ในกลุ่มของหินชั้น ซึ่งประกอบขึ้นจากแร่แคลไซต์ (แคลเซียมคาร์บอเนต) และสารตกตะกอน หินปูนเกิดจาก การทับถมของสารอนินทรีย์และซากสิ่งมีชีวิตในท้องทะเลภายใต้ความกดดัน เช่น ปะการัง และกระดองสัตว์ จากนั้นซากฟอสซิล เหล่านี้จึงตกผลึกใหม่กลายเป็นแร่แคลไซต์เมื่อหยดน้ำส้มสายชูลงบนหินปูน จะเกิดฟองฟู่ ซึ่งแสดง ให้เห็นว่าแร่ชนิดนี้ ละลายได้ดีในกรด หรือแช่หินปูนในกระปุก น้ำส้มสายชู ปิดฝาทิ้งไว้ จะสังเกตเห็นฟองที่เกิดจาก แคลเซียมคาร์บอเนต และหลังจากนั้นสองสามวัน จะพบว่า ก้อนหินละลายออกเป็นส่วนๆชอล์กนับว่าเป็นหินปูนชนิดหนึ่งซึ่งทำมาจากอินทรียสาร ที่มีขนาดเล็กมาก ชอล์กมักมีสีขาวและเทาหินปูนเป็นแร่ที่มีความสำคัญต่ออุตสาหกรรมก่อสร้าง เนื่องจาก ใช้ผสมคอนกรีต ทำซีเมนต์ ปูน หรือใช้เป็นหิน สำหรับก่อสร้างได้ นอกจากนี้ยังนำหินปูนมาใช้ในอุตสาหกรรม การผลิตแก้ว เป็นสารฟิลเลอร์ ผงขัด สารบำรุงดิน หรือผลิตสารเคมีอื่นๆ ส่วนปูนขาวเกิดจากกระบวนการ แคลซิเนชั่น (calcination) กล่าวคือ ทำให้หินปูนมีอุณหภูมิสูง ถึงจุดที่คาร์บอเนตหลอมละลาย (402- 898 องศาเซลเซียส) จนกระทั่งเกิดก๊าซคาร์บอนไดอ๊อกไซด์ นอกจากคำว่า “ปูน” จะหมายถึงหินปูนบดแล้ว ยังหมายถึงปูนขาวและผลิตภัณฑ์อื่นๆ ได้อีกด้วย

ประโยชน์การใช้งาน

หินปูนสามารถใช้ในอุตสาหกรรมก่อสร้าง การผลิตปูนซีเมนต์ และแก้ว ส่วน หินปูนบดช่วยรักษาค่า PH ในดินและแหล่งน้ำ ซึ่งได้รับผลกระทบจากภาวะฝนกรดวิธีการผลิตซีเมนต์ทำได้โดยอบการเผาหินปูนบดในเตาเผา นำซีเมนต์ไปผสมกับน้ำ ทราย และหินกรวด จนเกิดปฏิกิริยาทางเคมีก ลายเป็นคอนกรีต ส่วนวิธีการผลิตแก้วทำได้โดยผสมหินปูน ทราย และโซดา (โซเดียมคาร์บอเนต) เข้าด้วยกัน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น